หน้าแรก >
การบำรุงรักษา (perventive Maintenance)
การบำรุงรักษา (perventive Maintenance)
การซ่อมบำรุง หรือการบำรุงรักษา
เรื่องเล่า..ช่วงแรกนี้ ขอเริ่มด้วยเรื่อง การซ่อมบำรุง หรือการบำรุงรักษา ที่ได้เริ่มทำงานจากการเป็นหัวหน้าซ่อมบำรุง ฝ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในปี พ.ศ.2533 หลังจากนั้น 2 ปีได้ไปอบรม ระบบ DCS หรือ SCADA ที่ประเทศเยอรมัน ก็ได้อานิสงส์ส่วนนี้ในการทำความเข้าใจ กับ เรื่องฮาร์ดแวร์และ ระบบอัตโนมัติต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องของ Robot และระบบอัตโนมัติในคราวต่อไป
หลังจากนั้นทำงานพักใหญ่ ก็ได้ทุนโคลัมโบ ไปอบรม 3 เดือน เรื่อง การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ในปี พ.ศ. 2550 ที่ประเทศอินเดียนั้น จะเริ่มจาก การทำความเข้าใจ ฮาร์ดแวร์ ว่าส่วนที่เคลื่อนไหว หรือทส่วนที่เสียดสี จะมีการสึกหรอเกิดขึ้น แล้วจึงทำความเข้าใจว่าต้อง ดูแลส่วนต่างๆ เหล่านั้น ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างไร โดยไม่สึกหรอหรือเสื่อมสภาพ เช่น การหล่อลื่น การใช้แบริ่ง การใช้จารบี หรือน้ำมัน เป็นต้น
หลังจากนั้น จะมีการตรวจการสึกหรอ เช่น การเสียดสี ทำให้เกิดความร้อน ความสั่นสะเทือน หรือ การสึกหรอ แล้วนำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมาวิเคราะห์ ว่าต้อง ดูแล ป้องกันหรือ แก้ไขอย่างไร เนื้อหาต่างๆ ที่อบรม จึงรวมไปถึง การบำรุงรักษาตามอาการ (Condition Based Maintenance)
ในบ้านเรา การบำรุงรักษา (Preventive Maintenance) ที่นิยมใช้กันอยู่ แท้จริงอาจเรียกว่า Time Base Maintenance เช่น การดูแล ตรวจสอบ ตามตารางเวลา และเปลี่ยนถ่ายจารบี หรือ น้ำมันเครื่องตามระยะ ซึ่งเราสามารถนำ Condition Base Maintenance มาประยุกต์ในตารางดังกล่าว ได้ไม่ยาก ดังรูปที่เขียนขึ้นมา การบำรุงรักษาตามอาการ เช่น การสั่นสะเทือน ความร้อน เราสามารถตรวจสอบ ด้วยประสาทสัมผัสของเรา โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือได้ถึง 70% เช่น จากการสัมผัส การหมุน การขยับ การฟังเสียง และกลิ่นต่างๆ เมื่อต้องการรายละเอียด และความแม่นยำมากขึ้น จึงใช้เริ่มเครื่องมือดังกล่าว
การประยุกต์ใช้ระบบบำรุงรักษา 2 ระบบร่วมกัน เราสามารถปรับปรุง ตารางบำรุงรักษา ตามเวลา โดยเพิ่มหรือปรับปรุง รายการตรวจสอบตามสภาพเข้าไปดังรูป ในที่นี้จะพยายามลดความยุ่งยาก ในการกรอกข้อมูล ซึ่งช่างทั่วไปไม่ชอบอยู่แล้ว การลดความยุ่งยาก ทำได้โดยการทำตารางเป็นราย 6 เดือน และมีรูปอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันทำได้ไม่ยาก ดังรูป
หลังจากนั้นจึงนำ เทคนิคต่างๆ ในการจัดการ ที่เรียกว่า TPM เข้ามาใส่ ในระยะแรก ที่กลับมาจากอินเดีย ได้นำไปใช้กับโรงงานเล็กๆ ก็สามารถใช้ได้โดยเริ่มต้นเพียง
Visitors: 18,171